หนึ่ง เก้า แปด ศูนย์

“เอ้าดื่ม”

“เฮ่อ นานแค่ไหนแล้ววะที่เราไม่ได้เจอกัน”

“หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า…ห้าปี”

“ห้าปีจะว่านานมันก็นาน จะว่าเร็วมันก็เร็ว”

“พวกมึงยังเล่นดนตรีอยู่เปล่าวะ?”


“กูเพิ่งขายกลองชุดไปเมื่อปีก่อน กูไม่รู้จะตีไปทำไมเมื่อไม่มีเครื่องดนตรีอื่นๆคลอเคลียไปกับการกำหนดจังหวะของกู”

“มึงง่ะ ไอ้มือกีตาร์สามนิ้ว”

“สามนิ้วนี่กูเล่นแค่สามนิ้วเว้ย ไม่ได้นิ้วด้วนเหลือสามนิ้ว!”

“เห็นพวกมึงพูดถึงเรื่องนี้แล้วคิดถึงตอนเด็กๆว่ะ”

“…ที่ว่ามึงลงทุนหยอดกระปุกเพื่อซื้อกีตาร์โปร่งหนึ่งตัวนั่นใช่ไหม”

“ใครจะเหมือนมึงเล่า จับตะเกียบตีกระละมัง ชาม หม้อ ต่างว่ามันคือกลองชุด”

“ส่วนมึงมันลูกคนรวย มีคีย์บอร์ดเล่นตั้งแต่เด็กๆ

“แต่กูก็กระโดดเข้าร่วมหัวจมท้ายกับพวกมึงละกัน…ดนตรีทำให้กูมองข้ามความรวย-จนไป”

“เออนี่พวกมึงได้ข่าวล่าสุดยังวะ?”

“ข่าวอะไรวะ?”

“หลวงพี่นราธิป…”

“สึก!”

“สึก!!”

“ทำไมวะ?”

“แกดันออกหนังสือที่ผู้คนต่างวิจารณ์ว่าประพฤติไม่เหมาะสมกับคราบพระสงฆ์”

“จู่ๆก็มีข่าวหลวงพี่ท่านโผล่มาปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์แบบนี้ มันทำให้กูคิดถึงความหลังว่ะ”

“จะว่าไป นราธิปคือฮีโร่ของพวกเราอีกคนในยุคนั้น”

“และเขายังเป็นฮีโร่อีกหลายคน แทบทุกคนในยุคนั้นที่หันมาเล่นกีตาร์โปร่งก็ด้วยอิทธิพลของวงดนตรีที่นราธิปสังกัดอยู่”

“มันคือจุดเริ่มต้นของพวกเราในตอนนั้น”

“แต่ตำนานของดินแดนนี้ไม่ได้เริ่มที่พวกเขา”

“ใช่ ต้องย้อนหลังไปอีกหลายปี”

“มันเป็นการเบิกทางดนตรีสากลของประเทศเราให้ก้าวหน้าและเริ่มหลากหลายมากขึ้น”

“ทุกวันนี้พวกเขาได้รับการกล่าวขานว่า ‘ตำนานที่ยังมีลมหายใจ’”

“หากฉันมีสิบหน้า อย่างทศกัณฐ์”

“มึงจะร้องหาพระแสงของ้าวอะไรวะ เสียงก็ไม่ได้ไพเราะเสนาะหูชาวบ้านชาวช่องเขา!”

“ก็ ดิอิมพอสสิเบิ้ลไง”

“เป็นไปไม่ได้”

“พวกเขาเป็นวงดนตรีที่มีฝีมือ ถึงขนาดหอบตัวเองไปโชว์ถึงฟากยุโรปให้ฝรั่งได้ประจักษ์ ดิอิมฯจัดว่าแหวกแนวยทางดนตรีของวัยรุ่นในยุคนั้น”

“วัยรุ่นสมัยนั้นถือคติ 5ย เป็นสรณะ ต่อต้านเผด็จการ โจนเข้าร่วมการเมือง และฟังเพลงพวก คาราวาน กรรมาชน คุรุชน กงล้อ”

“ตอนนั้นยังไม่มีใครสรุปได้ว่า ดิอิมฯอยู่ฟากฮฺปปี้หรือฟากทุนนิยมเพียงแต่เนื้อหารักๆใคร่ๆปราศจากอุดมการณ์ทางการเมืองแบบวงตามมหาลัย ที่แต่งเพลงท้าทายรัฐบาลยุคนั้น”

“ดิอิมฯจึงไม่ได้รับการประดับยศให้เป็น ‘แนวรบด้านวัฒนธรรม’ แบบที่วงดนตรีเพื่อชีวิตยุคนั้นเป็น”

“แต่ดิดิมฯเป็นวงดนตรีหัวก้าวหน้า พวกเขามีลูกเล่นช่ำชอง บวกกับดนตรีที่แม่นและฝีมือ”

“เศรษฐา ศิระฉายา เป็นนักร้องที่เสียงดีมากๆคนหนึ่งแห่งยุคนั้น”

“และลวดลายการเดินเบสอันแม่นยำของ ไพฑูรย์ วาทยกร ไหนจะข้อมือกับข้อเท้าที่มีน้ำหนักราวกับตราชั่งของ อนุสรณ์ ที่หวดกลองแต่ละลูกจนต้องทึ่งไปกับมือเท้าของแก กูจำได้ว่ากูต้องฝึกการตีกลองแบบอนุสรณ์อยู่นานกว่าจะเสนอหน้าบนเวทีได้”

“และภายหลังที่ทีมเครื่องเป่าเข้ามาสมทบอีก ดิอิมฯขจรขจายไปสุดกู่”

“หนึ่งในทีมเครื่องเป่ามีชายหนุ่มผู้ไว้หนวดจบธรรมศาสตร์มา…”

“เรวัติ พุทธินันท์ !!”

“หรือพี่เต๋อของน้องๆ”

“ไหนจะ ปราจีน ทรงเผ่า และวินัย พันธุรักษ์ สองคนที่ร่วมหัวร่วมแรงก่อร่างสร้างวงดนตรีนี้ จนนามสกุลของพวกเขาลงท้ายด้วยคำว่า ดิอิมพอสสิเบิ้ล”

“แต่ละคนล้วนเป็นปูชนียบุคคลในทางดนตรีไปเรียบร้อย”

“และบางคนก็เป็นตำนานที่สิ้นลมหายใจ”

“อย่างว่าชีวิตคนเรามันต้องเป็นไปตามสังขาร”

“ดิอิมฯมาแผ่วเอาตอนปี2517 ใช่ไหมวะ?”

“เริ่มแผ่วตั้งแต่นั้น คือ 2517 เรื่อยมา”

“ว่าดิอิมฯสร้างรากฐานของวงดนตรีสากลแบบ สตริง ชาโดว์ ได้อย่างมั่นคงแล้ว แต่ปี 2517 โฟล์คซองมาแรงกว่าดนตรีแบบดิอิมฯมากนัก”

Sagittarius(มหาชน):
“มีอยู่สองวงด้วยกันที่เป็นโฟล์คโดยใช้กีตาร์นำ”

“isn’t กับ ชาตรี”

“ทว่าชื่อชาตรีกลับสร้างวัฒนธรรมดนตรีให้ขยายออกไปอย่างไพศาล”

“isn’t นั้นก็พอตัวเลยล่ะ พวกเขามาจากเมืองเลย ประกวดโฟล์คซองพระราชทานได้รางวัลที่หนึ่ง ด้วยการผสมผสานดนตรีเซิ้งขอองภาคอีสานกับกีตาร์โปร่ง เป็นกลเม็ดเด็ดพรายในการเล่นจนได้รับชัยชนะในครั้งนั้น”

“ด้านเพลงสากลเขาประกวดเพลง the boxer ของ simon and garfunkel ส่วนเพลงไทยเขาจับเพลง สาละวัน ที่สง่า อารัมภีร์แต่งมาร้อยเป็นดนตรีเซิ้งแต่เล่นด้วยกีตาร์โปร่งอย่างที่ว่า”

“พวกเขาเป็นเจ้ากีตาร์ในยุคนั้น”

“ไม่ให้เป็นเจ้าได้ไง ดูที่ชื่อสมาชิกวงสิ”

“มือกลองนั้นชื่อ จุมพฏ ปัญญามงคล ส่วนมือกีตาร์อีกสองคนเป็นคู่พี่น้อง”

“มีนามว่า อัสนี และ วสันต์”

“ปัจจุบันทั้งสอง นิ้วของเขายังสัมผัสกีตาร์อยู่”

“ส่วนคำว่า isn’t นั้นเพี้ยนมาจากคำว่า อิสาน นั่นเอง”

“แต่ isn’t แพ้ชาตรีตรงที่ฐานแฟนเพลง”

“ใช่ ดนตรีของ isn’t บางเพลงลอกเพลงสากลมาทั้งดุ้น แถมฟังยาก ผิดกับชาตรีที่คิดเองทำเอง และมีความเป็นไทยสูง ดูอย่างชื่อวงสิยังไม่ใช้ชื่อภาษาอังกฤษเลย…ง่ายๆว่า ชาตรี”

“วงชาตรีเป็นกลุ่มปฏิวัติกีตาร์โปร่ง”

“ด้วยเนื้อหาที่ง่าย ดนตรีไม่ซับซ้อน เพลงรักแบบเข้าถึงกลุ่ม ทำให้วัยรุ่นชายยุคนั้นซื้อกีตาร์โปร่งกันเป็นแถว”

“สมัยนั้นการซื้อกีตาร์โปร่งของวัยรุ่นชาย ก็ง่ายเหมือนซื้อผงซักฟอกยี่ห้อเปาบุ้นจิ้น”

“ไม่มีเพลงไหนชองชาตรีที่ไม่ดัง ไม่ว่าชุดไหน”

“แฟนฉัน รักครั้งแรก ไปลอนดอน สวัสดีคุณครู อัฐิฐานรัก และอีกมากเหลือคณานับ”

“เพลงจากไปลอนดอน ภายหลังวงโมเดิร์น ด็อก ยังนำไปใช้ตอนปิดอัลบั้มชุดแรก ยังกลับมาสร้างความฮือฮาของอิทธิพลวงดนตรีชาตรีได้อีกคำรบ”

“การได้ นราธิป เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของวงในการแต่งเพลงมีส่วนสำคัญ”

“ทั้งพวกมึงและกู ต่างก็หัดกีตาร์เพราะวงชาตรีนี่แหล่ะ”

“ปี 2521-2525 ชาตรีแรงสุดๆ”

“ไม่น่าเชื่อว่าวงชาตรีจะมีอดีตเป็นเด็กช่างจากเทคนิคกรุงเทพ จะเล่นดนตรีได้น่ารักปานนี้”

“กูชอบเพลงสัญญาใจว่ะ”

“ร้องว่าไงนะ ‘ไปหาดใหญ่ครานั้นฉันยังจดจำ คำที่เคยสัญญาให้ไว้สองเรา…”

“ส่วนกูชอบพายุรัก”

“อ้าวพร้อมกัน ‘พายุรักโหมกระหน่ำ กระแทกซ้ำดวงฤทัย แม้จะอยู่สุดหล้าฟ้าไกล ก็ไม่วายคิดถึงเธอ”

“ตอนนั้นกูฝึกลีดเพลงนี้เอาเป็นเอาตายข้าวปลาไม่แตะ”

“แต่สุดท้ายมึงก็เบนเข็มไปหาดิสโก้”

“ดิสโก้ ก็มันครึกครื้นนี่หว่า”

“พูดถึงดิสโก้ ช่วงนั้นใครนำวะ?”

“หลักไมล์อมตะหางวงการดนตรีไทย”

“…แกรนด์เอ็กซ์…”

“การกำเนิดชอง แกรนด์เอ๊กซ์ ทำให้คนเรียกยุคนั้นว่ายุค ‘ชาตรี-แกรนด์เอ็กซ์”

“ทั้งๆที่วงดนตรีไม่ได้มีแค่สองวงนี้สักหน่อย แต่อิทธิพลของสองวงนี้กินพื้นที่กว้างขวาง”

“แกรนด์เอ็กซ์เป็นวงดนตรีวงแรกที่จำหน่ายได้เกินล้านตลับ เพียงแค่ออกจำหน่ายอัลบั้มแรก”

“อัลบั้มนั้นมีชื่อว่า ลุกทุ่งดิสโก้”

“ออกมาตอนปี 2522”

“จำรัส เศวตาภรณ์ เป็นนักร้องนำ และมี นคร เวชสุภาพรเป็นหัวหน้าวง”

“ต้อง นคร บิดาน้องโต๋ ที่ว่าเล่นเปียโนเก่งๆอยู่ค่ายเบเกอรี่มิวสิคนั่นอหล่ะ”

“เออ กูรู้แล้วว่าลูกเขาเก่ง”

Sagittarius(มหาชน):
“ยังมีอีกสิ่งที่แกรนด์เอ็กซ์เริ่มทำได้ในสมัยของเขา”

“แฟนคลับ!”

“แกรนด์เอ็กซืเป็นวงแรกที่มีแฟนคลับอย่างเป็นทางการ สมัยนั้นการทำการตลาดของสถานีวิทยุถึงกับต้องจ้างแกรนด์เอ็กซ์มาเป็นผู้ดำเนินรายการ เพื่อเปิดให้แฟนๆทางบ้านได้พูดกับสมาชิกในวงแบบสดๆ”

“สามสถานีวิทยุด้วยกันที่แกรนด์เอ็กซ์ประจำอยู่”

“และแล้วแกรนด์เอ็กซ์ก็ขึ้นแท่นอันดับหนึ่งของวงการเพลงไทย ด้วยนักร้องนำคนใหม่บวกกับสมาชิกยุคที่ดีที่สุด”

“แจ้ ดนุพล แก้วกาญนจ์”

“เพลง เพียงสบตา กับ เชื่อฉัน ดังเป็นพลุแตก ไหนจะ รถไฟมีปีก อีกล่ะ และอย่าลืม รักใน ซี เมเจอร์ ที่ นครร้องไว้อย่างสุดซึ้งอีก”

“ตอนนั้น แกรนด์เอ็กซ์นั่งอยู่ในใจวัยรุ่นทั่วประเทศ”

“มึงลืมไปอีกสิ่งรึเปล่า?”

“อะไรวะ”

“เสียงกลองไง!”

“เออ ใช่ แกรนด์เอ็ซ์เป็นเจ้าแรกที่นำเข้าการใช้เสียงกลองสังเคราะห์ หรือ drum machine จากนอก ระหว่างการบันทึกเสียง เพราะผลที่ได้นอกจากจะประหยัดค่าใช้จ่าย ยังสามารถทำให้เสียงกลองผิดแผกไปจากเดิมอีกด้วย แม้นจะน่าเสียดายที่ว่า คนไม่ได้ตีกลองตอนบันทึกเสียงก็เถอะ”

“อ้าว ช่วยผมร้องหน่อยครับ”

“เออ เออ กูลืมอีกจนได้ แจ้ ยังเป็นคนแรกที่ยื่นไมค์ให้คนดูร้องตามเพลงอีกด้วย จนกลายเป็นวัฒนธรรมการดูคอนเสิร์ตไป”

“แล้วแกรนด์เอ็กซ์ ก็ทำกระจกห้างแตก!”

“นั่นมันตอนที่คนแห่ไปจองบัตรคอนเสิร์ตสุดท้ายของแกรนด์เอ็กซ์ที่โรบินสัน ราชดำริ ว่ากันว่า บางคนโผล่ไปรอห้างเปิดตั้งแต่ตีห้า”

“ยิ่งสายคนยิ่งแน่น ในที่สุดก็เบียดกันจนกระจกห้างแตก”

“น่าแปลกแกรนด์เอ็กซ์กับชาตรีประกาศยุบวงในปีเดียวกัน”

“ถึงกระนั้นระหว่างปี 2525-2528 วงดนตรีวัยรุ่นโผล่เป็นดอกเห็ด ผุดขึ้นตามค่ายเทปอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน”

“อินโนเซนท์ ที่มีชาตรี คงสุวรรณเป็นฟันเฟืองก็ใช่ย่อยเพลงของพวกเขามีทั้งฝีมือและติดหูง่าย”

“วงคีรีบูน ของอ๊อด รณชัย ถมยาปริวัฒน์ เป็นวงแรกที่สมาชิกภายในวงเป็นเด็ก ม.6 ล้วน สร้างความตื่นตะลึงให้กับวงการดนตรีอย่างมาก”

“เต๋อ เรวัติ ก็ฉายเดี่ยวผลงานได้อย่างเลอเลิศ เจ้าสาวที่กลัวฝน ดอกไม้พลาสติก ยิ่งสูงยิ่งหนาว คงจะมีสักวัน ที่แล้วก็แล้วไป บรรดาเพลงเหล่านี้ของชายหนวดงาม ทำให้ชื่อค่ายแกรมมี่โดดเด่นมาโดยพลัน”

“อัญชลี จงคดีกิจ ก็โตมากับค่ายแกรมมี่นี้แหล่ะ”

“เออ พวกมึงรู้หรือเปล่าว่าสาเหตุของการก้าวลงของวง ชาตรีกับแกรนด์เอ็กซ์มันมาจากข้อใด”

“เกิดจากการปฏิวัติของวงดนตรีที่กูกำลังจะหมายถึงนี่รึเปล่า”

“วงที่มึงกำลังหมายถึง สำหรับกูไม่ถึงกับปฏิวัติ แต่มันเป็นเพียงแรงเหวี่ยงทางวัฒนธรรม!”

“ตอนนั้นมันปี 2527”

“ใช่ เมดอินไทยแลนด์ ของ คาราบาว!”

“มันคือสุดยอดปรากฏการณ์ทางดนตรีของบ้านเรา วินาทีนั้นไม่มีใครไม่รู้จักคาราบาว” ไม่มีใครไม่ร้องเพลงคาราบาว ตั้งแต่เด็กอนุบาลยันผู้ชรารใกล้ฝั่งต่างฮัมเพลงใดเพลงหนึ่งของอัลบั้มเมดอินไทยแลนด์ได้”

“ความสุขเล็กน้อยนี่ว่าจะถอยวีดีโอมาฉายดูหนังโป๊ให้กลาดเกลื่อนเมืองไทย”

“ช้ำเพราะความที่เธอจน นี่หรือคนสังคมรังเกียจ ช่วยผู้ชายระบายความเครียด สิบร้อยพันยันรัฐมนตรี”

“เรามันจนเราก็จนต่อไป ใครจะรวยเท่าไหร่ก็ปล่อยให้รวยเสียให้เข็ด”

“โลกนี้ไม่สมประกอบ เพราะบางคนชอบเอาแต่ประโยชน์ส่วนตน โลกนี้มีซักกี่คนเป็นบัวหลุดพ้นดังคนชื่อ บัวลอย”

“คนไทยได้หน้าฝรั่งมังค่าได้เงิน”

“ปริญญางมงายมหาลัยงมเงา”

“มึงรู้เปล่าว่า วิภว์ แห่งแฮมเบอร์เกอร์พูดถึงอัลบั้มเมดอินไทยแลนด์นี่ว่าอย่างไร”

“พูดว่า…”

“วิชา สังคมศาสตร์ประจำปีการศึกษา 2527 แห่งประเทศไทย!”

“วิภว์ ยังบอกอีกว่าสมัยนั้น การฟังอัลบั้มเมดอินไทยแลนด์ก็ไม่ต่างอะไรจากการอ่านหนังสือ สังคมของเรา”

“ชุดนี้ฟาดไปกี่ล้านวะ?”

“สี่ล้านกว่าตลับ คาราบาวขึ้นทำเนียบเรียบร้อย”

“ปัจจุบัน แผ่นเสียงชุดนี้ ตกราวๆ ห้าพันกว่าบาท…ห้าพันกว่าต่อแผ่นพลาสติกไวนิลหนึ่งแผ่น มึงลองคิดดู”

“ช่วยไม่ได้ นี่มันอภิมหาตำนานนี่หว่า”

“แต่สุดท้าย เงิน ก็ล้างสมองพี่แอ๊ดเข้าให้”

“อย่างว่า…แหล่ะ”

“ยุคนั้นเพื่อชีวิตเติบโตในตลาดเพลงอย่างโดดเด่น”

“คนด่านเกวียน พงษ์เทพ โฮป กระท้อน คันไถ อินโดจีน”

“วงเหล่านี้เติบโตมากับเพลง “เดือนเพ็ญ”

“อัศนี พลจันทร์ แต่งเพลงนี้ตอนอยู่ในป่า แกจบธรรมศาสตร์รุ่นแรกปี 2477 ลุงไฟยังเป็นอาจารย์เอกให้กับ สหายไท อีกด้วย”

“สหายไท?”

“สหายไทก็คือชื่อของ เสกสรร ประเสริฐกุล”

“อ้าวไอ้ห่า มึงจะพากูไปหาการเมืองทำไมเนี่ย”

“กูก็แค่เท้าความเป็นมาเฉยๆ”

“น้ำไม่ไหล ไฟดับ ก็ถือเป็นการเมือง”

“เมื่อกี้กูว่าถึงไหนแล้ว?”

“เมดอินไทยแลนด์”

“ยุทธนา บุญอ้อม หรือป๋าเต็ดกล่าวไว้ในรายการวิทยุว่า ยุคนั้นถ้าจะเปรียบไป คาราบาวก็คือ อัลเทอร์เนทีฟ ของวงการดนตรีในช่วงนั้น”

“คือเป็นทางเลือกที่ต่างไปจากกระแสหลักว่างั้นเถอะ”

“คาราบาวจึงเป็นซูเปอร์สตาร์เทียบเท่ากับเบิร์ดในยุคนั้นจนถึงยุคนี้”

“ถึงขนาดมีหนังที่วงคาราบาวเล่นเองทั้งเรื่อง”

“…เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ…”

“กูไม่เข้าใจว่า ทำไมไม่มีใครจับหนังเรื่องนี้นำมาปัดฝุ่นฉายในรูปแบบวีซีดี หรือ ดีวีดี บ้างวะ”

“กูว่าหนังเรื่องนี้ลิขสิทธิ์อาจไม่ได้ตกอยู่กับวงคาราบาวว่ะ”

“ฉากสุดท้ายที่ไฟๆหม้บ้านวงคาราบาวเหลือแค่แอ๊ดนั่งเล่นกีตาร์โปร่งอยู่หน้าซากปรักหักพังและโคมควันที่คละคลุ้งล่องลอย”

“กูจำได้ว่าน้ำตากูไหลเมื่อเรื่องจบ”

“หนังเรื่องนี้ออกฉายปี 2529”

“ปีทอง”

“ปีทองของหนังไทยยุคหนึ่ง?”

Sagittarius(มหาชน):
“ไม่ใช่ ปีทองของงานดนตรีบ้านเราต่างหาก”

“ทำไมมึงถึงคิดเช่นนั้น”

“ไนท์สปอต”

“วิทยุคลื่นหนึ่งนี่”

“สำหรับกู ไนท์สปอต ในตอนนั้นก็ดุจดังค่ายเบเกอรี่ในตอนนี้”

“กูเห็นด้วยกับคำมึง”

“จากคลื่นรายการวิทยุ ที่กล้าผันตัวเองมาเป็นค่ายเทป การปรากฏของค่ายเพลงนี้มีนัยยะและแรงผลักดันสำคัญต่อวงการดนตรีบ้านเรา”

“หลายต่อหลายอัลบั้มที่ออกมาอวดโฉมบนแผงเทปนั่นแหละ ที่กูถือว่าเป็นปีทองสำหรับวงการดนตรีบ้านเรายุคหนึ่ง”


“แดนศิวิไลซ์ของธเนศ วรากุลนุเคราะห์ คนนี้ไนท์สปอตส่งตรงเพราะ ธเนศคือดีเจเก่าที่หันมาเอาดีด้านการจับไมค์ร้องเพลง”

“ด้วยปณิธานอันแรงกล้า ไนท์สปอตฝากธเนศไปเมืองผู้ดีเพื่อผลิตอัลบั้มนี้”

“เป็นการบันทึกเสียงที่อังกฤษ”

“ใช้บริการทุกอย่างของที่นั่น นักดนตรี โปรแกรมเมอร์ ห้องอัด เครื่องมือ อาหารการกิน เว้นอย฿สองอย่างที่เป็นไทย”

“อะไร”

“นักร้องกับโปรดิวเซอร์”

“ธเนศ ในฐานะนักร้อง อัสนี โชติกุล ในฐานะโปรดิวเซอร์”

“อัลบั้มนี้โทนดนตรีกระเดียดไปทาง อิเลกทรอนิกส์ กับลูกหาบของโปรเกรซซีฟ”

“เพลง เบื่อคนบ่น เป็นเพลงที่ดังที่สุดของอัลบั้มและเป็นเพลงขายของชุดนี้ ส่วนเพลงที่เหลือเป็นเพลงสำหรับฟังยุคนี้”

“หลายคนในยุคนั้นบอกว่าบอกว่า ฟังไม่รู้เรื่อง”

“แต่ในสายตาฝรั่ง พวกเขายำเกรงอัลบั้มชุดนี้มากเพราะมาตรฐานใกล้เคียงกับเขา”

“กูชอบเพลง ดนตรี ว่ะ”

“ส่วนกูชอบ ไม่รู้รึไง…โอ๊ย กับ ลุงคิดกับหลานชิดชัยและแดนศิวิไลซ์สุดขอบฟ้า”

“และการที่เพลงส่วนใหญ่ในอัลบั้มนี้ล้ำหน้าชาวบ้านในยุคนั้น การที่ได้ฟังวันนี้ จึงรู้สึกว่าอัลบั้มนี้เพิ่ทำไว้เมื่อวาน ทั้งที่จริงอัลบั้มนี้อายุ 20 ปีแล้ว”

“จำได้ว่า การบินกลับมาหลังจากเสร็จการผลิตอัลบั้มชุดนี้ อัสนี โชติกุล บ่นเหนื่อยเพราะไม่ได้ไปแต่ตัวต้องแบกเอากองสัมภาระไปกลับด้วย”

“และเมื่อถึงกรุงเทพฯกองสัมภาระนั่นทำให้อัสนีหลุดมาคำหนึ่ง”

“…เหมือนคนบ้าหอบฟาง…”

“อัสนี นิ่งไปครู่นึง ก่อนจะพูดคุยบางอย่างกับผู้บริหารไนท์สปอตต่อจากนั้นก็โทรหาน้องชายที่ชื่อ วสันต์”

“นับแต่นั้น ตำนานเพลงร็อกอีกหนึ่งบทของเมืองไทยก็เกิดขึ้น”

“ใช่แล้ว อัสนี-วสันต์ทำบ้าหอบฟางออกมาจนวงการเพลงต่างตื่นตะลึงและเฝ้าจับตาคู่พี่น้องนี่ด้วยสายตาที่เปลี่ยนไป”

“อัสนีในฐานะนักดนตรีผู้อยู่เบื้องหลังมานานได้ก้าวมายืนเบื้องหน้าอย่างสง่า”

“เพลง น้ำเอย น้ำใจ ที่ร้องคู่กับแอ๊ดคาราบาวเป็นเพลงที่กระหึ่มลานคอนเสิร์ตในยุคนั้น”

“เพลงไม่เป็นไรเป็นเพลงคัฟเวอร์ แต่รูปแบบดนตรี ฮาร์ดร็อก บวกกับกีตาร์ของ แหลม มอริสันที่เชิญมาโซโล่เพลงนี้โดยเฉพาะทำให้ความมันส์พุ่งขึ้นไปอีกระดับ”

“แต่ความหมายของ บ้าหอบฟาง ในสายตาของอัสนีนั่นหมายถึงการเสียดสีผู้คนในยุคนั้นที่ชอบถือกระเป๋าแบบเจมส์บอนด์เดินเข้าธนาคาร ฉะนั้น ฟางในที่นี้คือ เงิน คือธุรกิจ แต่อัสนีได่ให้ความหมายใหม่”

“เหมือนกับคำว่า ฟักทอง ที่ว่าหายไปนั่น ไม่ใช่ผลไม้แต่หมายถึงความรู้สึกดีๆที่หายไปต่างหาก”

“ขุนทอง อสุนี วิจารณ์ว่า ฮาร์ดร็อกแบบไทยๆได้ถือกำเนิดขึ้นแล้วโดยมีอัลบั้มบ้าหอบฟางเป็นแม่บท”

“ยุทธนา บุญอ้อม โคตรชอบอัสนี-วสันต์เป็นอย่างมาก”

“ตอนที่แข่งแฟนพันธ์แท้ ป๋าเต็ด บอกกับทางรายการว่า ‘อัสนี-วสันต์คือพระเจ้า”

“เขาเป็นฮีโร่ของยุคนั้นและยืนยาวพอที่จะอยู่ในยุคนี้แม้นจะอ่อนแรงลงตามสังขารก็ตามที”

“ภาพของการแจกปิ๊กกลายเป็นประเพณีปฏิบัติทุกการแสดงของพี่น้องคู่นี้ และเป็นลิขสิทธ์ที่ไม่ต้องจด”

“พวกเขาซื้อปิ๊กกีตาร์กันเองไม่มีใครสนับสนุน”

“ถ้าเปรียบเทียบวงการเพลงร็อกของเมืองไทย อัสนี-วสันต์ คือหนึ่งในแม่ทัพที่นำหน้าอย่างไม่ต้องสงสัย”

“นอกจาก ธเนศ,อัสนี-วสันต์แล้ว ไนท์สปอตยังคลาคล่ำไปด้วย มัม ลาโคนิค,นุภาพ,เบิร์ดกะฮาร์ท แต่ละรายล้วนคับไปด้วยคุณภาพทั้งนั้น”

“แต่ปีทองก็มีแค่ปีเดียวและมาไวไปไว”

“ไนท์สปอต ล่มลงอย่างรวดเร็ว”

“อายุไม่ถึงสิบปีด้วยมั้ง”

“มันเป็นการพิสูจน์ว่าการจะอยู่รอดให้ได้ในถนนสายดนตรีต้องมีความสามารถทางธุรกิจควบคู่ไปด้วย”

“ไม่งั้นจะเป็นแบบที่ไนท์สปอตเป็น”

“ในวงการเทปมือสอง ศิลปินสังกัดไนท์สปอตยังถูกถามหาอยู่เรื่อยๆ”

“เป็นการถามหาคุณค่าทางประวัติศาสตร์ดนตรี”

Sagittarius(มหาชน):
“พูดถึงอัสนีแล้วอดไม่ได้ที่จะต้องนึกถึง บัตเตอร์ฟลาย”

“สำหรับกูนี่คือ สิ่งศักดิสิทธิรูปเคารพทางดนตรี อยู่บนหิ้ง ควรค่าแก่การสักการบูชา”

“ศิลปินหลายรายอยู่ภายใต้ร่มเงาของวงดนตรีนี้”

“แหวน,นันทิดา,เต๋อ,นรินทร,ไมโคร,เอ็กซ์ วาย แซด และภาพยนตร์อย่าง วัยระเริง ,น้ำพุ,มือปืน,เงิน เงิน เงิน,แก็งค์ไอติม เหล่านี้ล้วนแล้วผ่านมือของกลุ่มดนตรีชื่อ บัตเตอร์ฟลายทั้งสิ้น”

“แค่ชื่อนักดนตรีภายในวงก็หนาวแล้ว”

“สุรสีห์ อิทธิกุล,จิรพรรณ อังศวานนท์,อนุวัฒน์ สืบสุวรรณ,กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา,กรเณศ วสีนนท์,อุกฤณ์ พลางกูร”

“หรือที่เข้าๆออกๆ อย่าง อัสนี โชติกุล,เพชร มาร์,จาตุรนต์ เอฒช์บุตร”

“ภายหลังชื่อเหล่านี้ไปปรากฏเป็นคนเบื้องหลังให้กับศิลปินแกรมมี่”

“ผลงานที่เป็นภาคภาษาอังกฤษ บัตเตอร์ฟลายทำออกมาสามชุด”

“ชุด action คืองานชุดที่สามเป็นอัลบั้มโปรเกรสซีฟขึ้นชื่ออีกอัลบั้มที่นักดนตรีถามหา”

“เป็นผลงานที่ดีแต่ไม่ดัง”

“พวกเขาใจกล้ามากที่ทำเป็นภาษาอังกฤษ หนำซ้ำดนตรีก็เทียบเท่าสากล”

“แต่หูคนไทยยุคนั้นยังเตี้ยๆ ไม่สูงพอที่จะฟังงานนี้”

“บัตเตอร์ฟลาย ยังทำแบบนี้กับ นันทิดาอีกหนึ่งชุด”

“something in our mind”

“ใช่ เป็นอีกอัลบั้มที่พูดง่ายๆว่า เจ๊ง”

“นันทิดา ประกวดร้องเพลงได้อันดับหนึ่งของเอเซีย การทำงานกับบัตเตอร์ฟลายชุดนี้จึงดูเหมาะสม”

“จะมีซักกี่คนที่รู้ว่านันทิดามีอัลบั้มนี้วางแผงเมื่อหลายปีก่อน”

“นั่นน่ะสิ”

“สตูดิโอ บัตเตอร์ฟลาย ยังเป็นสถานที่ผลิตศิลปินรายหลังๆอีกด้วย”

“ใหม่ เจริญปุระ,บิลลี่ โอแกน,ไฮร็อก,เป้ สีน้ำ,เทวัญ ทรัพย์แสนยากร ก็เคยมาใช้บริการสตูดิโอนี้”

“หลังจาก อัสนีกับสุรสีห์ ไปได้ดีกับงานตัวเอง บัตเตอร์ฟลายก็ต้องยุติบทบาทผู้นำแห่งวงการดนตรีลง แล้วเป็นคนยืนอยู่ข้างหลังคอยปั้นผลงานให้กับศิลปินแกรมมี่”

“พูดง่ายๆเด็กแกรมมี่จะดังได้ก็ต้องผ่านมือสมาชิกบัตเตอร์ฟลาย”

“แม้นภายหลัง กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนาจะมาก่อตั้งวง กัมปะนี ออกมาเพื่อเจือตลาดกับเขาบ้าง แต่ก็พบว่า ดนตรีของพวกเขาได้หมดแรงลงต่อตลาดเพลงไทยเสียแล้ว”

“บัตเตอร์ฟลายจึงเหลือแค่เพียงตำนานบทหนึ่งในวงการเพลงไทย”

“แต่กูชอบใจที่ เต๋อกับบัตเตอร์ฟลาย ได้นำแนวคิดพุทธปัญญามาแต่งเป็นบทเพลงให้คนฟัง”

“อัลบั้ม คีตกวี เรามาร้องเพลงกัน ใช่ไหม”

“นั่นแหล่ะ”

“อัลบั้มนั้น เต๋อ ยังไม่สร้างค่ายแกรมมี่เลย”

“แต่เพลงหลายเพลงโด่งดังก็ตอนที่ อัสนีเอาไปทำใหม่เป็นเพลงตัวเอง”


“ไม่เป็นไร,ขลุ่ยผิว,วีณาแกว่งไกว,ดอกไม้ไปไหน,ทำอยู่ทำไป,ทุกๆคนเป็นคนดี”

“หลายคนเข้าใจว่านี่คืองานของอัสนี-วสันต์แต่ถูกแค่ครึ่งเพราะรายชื่อเพลงเหล่านี้ปรากฏครั้งแรกในอัลบั้ม เรามาร้องเพลงกัน ของเต๋อ เรวัติ ต่างหาก”

“เพลงเหล่านี้เล่นแง่ ตั้งคำถาม และมีเนื้อหาน่าขบคิด ชวนหัว”

“ถ้ามึงอยากถามหาเนื้อเพลงที่ส่อไปในทางดังกล่าว ในยุคของเราก็มีปัญญาชนจากรั้วมหาลัยที่ผลิตงานประเภทนี้ออกมาอยู่ช่วงหนึ่ง”

“นิติพงษ์ ห่อนาค,วัชระ ปานเอี่ยม,ศุ บุญเลี้ยง,ภูษิต ไล้ทอง

 ผู้เขียน วนิดา(นามปากกา)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *